ถึงตรงนี้ผมเองก็มึนงงไปหมดในบรรดาเครื่อง DOHC ของ Toyota ซึ่งถ้าจะเอาให้ดีควรเขียนเป็น ชาร์ทแบบตอนเรียนชีววิทยาเวลาไล่ไฟลัมพืชและสัตว์ ที่น่าสังเกตคือ แม้ Toyota จะมีเทคโนโลยี ความสามารถที่จะผลิตเครื่องเหล่านี้ว่าหมูมาก แต่ก็ยังให้ Yamaha มีส่วนเอี่ยวอยู่เสมอในสไตล์ Keiretsu ที่กล่าวมาแล้ว ตั้งแต่ 3 M, ตระกูลห้อยท้ายด้วยตัว “G”, 2 T-ZFE / Z จนถึง 2 Z-ZGE โดยเฉพาะการดีไซน์และหล่อฝาสูบ ที่ยกเว้นเห็นจะมีเพียงฝาของ 4 A-GE และ 2 J-ZGE เท่านั้นที่ Toyota ดีไซน์และหล่อขึ้นมาเอง
ต่อไปนี้จะเป็นตารางเครื่อง Rebuilt, Used และ Sport ของ Toyota ที่ยังคงทำออกมาขายในปัจจุบันบางเครื่องยังใหม่เอี่ยม “0ไมล์” ก็มี
เครื่องแข่งเต็มๆ คือ 3 M-G, 503 E, 152 E (16 วาล์ว 2,200 ซีซี.), 503 E, 18 RG (HKS 2,200 ซีซี. เทอร์โบ), 5 M-G (HKS 3,100 ซีซี. ทวินเทอร์โบ), 5 M-G (Kuwahara Power 3100) , 5 M-G (GREEDY ทวินเทอร์โบ), 7 M-GTE (โปรโตไทพ์) ราคาไล่จากแถว 200,000 – 700,000 บาท
เครื่องประเภท “0ไมล์” ได้แก่ 18 RG (2,200 ลูกสูบไฮคอมป์ ระเบิดวาล์ว ขัดพอร์ท), 18 R-G (2,200 เทอร์โบ ลูกสูบฟอร์จ ขัดพอร์ท) 2 T-G (2,200 ลูกสูบไฮคอมป์หรือ 2,200 เทอร์โบ วาล์วใหญ่ ขัดพอร์ท) 3 S-GE / GTE (รุ่นที่สอง ฝาสูบรุ่นสอง ลูกสูบพิเศษ) 3 S-GE (ลูกสูบไฮคอมป์) 1 Z-ZFE, 2 Z-ZGE, 4 A-GE, 22 R-TE, 6 M-GE, 7 M-GE
พิเศษ บล็อค 7 K ขนาด 1,800 ซีซี “หลาน” ของ 3 K และ 4 K สำหรับวางใน Starlet รุ่นขับหลังขายแค่ 40,000 บาท
ทั้งหมดนี้ราคาไล่จากไม่ถึงสี่หมื่นจนถึงสองแสนบาท เป็นราคาเฉพาะเครื่องโล้นๆ ไม่รวมลูกพ่วงให้เสียเงินอีกมากมาย เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้วครับ