Author Topic: ปัญญาประดิษฐ์ในวงการยานยนต์  (Read 15532 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline tiger00

  • Verified Member
  • Member
  • *****
  • Join Date: Jun 2007
  • Posts: 196
  • Gender: Male
  • Last Login:July 12, 2021, 10:03:31 am
    AI หรือปัญญาประดิษฐ์นั้น เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในวงการยานยนต์นั้นจะแยกเป็น  2 ส่วนหลักคือ หนึ่งใช้กับตัวรถเอง สองใช้กับผู้ใช้รถ คำว่า AI นั้นปัจจุบันดูมันจะแทรกซึมเข้าไปทุกวงการ ล้อมรอบมนุษย์และสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต รวมทั้งใช้ออกไปนอกโลกด้วย หลายครั้งทีเดียวที่มันเข้ามาเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่งบนอินเตอร์เน็ต(Internet of Things) ระบบข้อมูลใหญ่(Big Data) เซอร์วิสโพรไวเดอร์ น่าคิดว่าในอนาคตอันใกล้เราคงบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นมาใช้กับทั้งหลายระบบนี้เมื่อมันถูกผสมกลมกลืนกัน คล้ายๆกับการผนวกบรรดาเครื่องเสียง มีเดียต่างๆ ระบบติดต่อสื่อสาร เก็บข้อมูล กล้อง….แล้วบัญญัติศัพท์ใหม่ว่าอินโฟเทนเม้นท์ขึ้นมานั่นเอง
    คาดว่า AI เฉพาะที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างเดียวจะมีมูลค่าสูงถึง 10.73 พันล้านยูเอสดอลล่าร์ในปี 2024 ทำให้เค้กก้อนนี้ได้ถูกฝรั่งเข้ามาตักกินและจะมีรายใหม่ๆได้แก่จีน เกาหลี เข้ามารุมกินเหมือนฝูงหมาไนไฮยีน่า การพัฒนาแข่งกันน่าติดตามทีเดียว  เท่าที่ติดตามเรื่อง AI ในวงการรถพอจะแยกส่วนได้ดังนี้

1. ระบบช่วยผู้ขับขี่และการเข้าสู่รถไร้คนขับ โดยใช้ลิด้าร์ที่เหนือกว่าเรด้าร์
   ตรงนี้เห็นพัฒนาการต่อเนื่องชัดเจนคือไปสานต่อระบบช่วยผู้ขับก่อนที่โลกรถยนต์จะก้าวเข้าสู่ระบบรถอัติโนมัติรขับขี่แทนเรา ซึ่งจะเกิดแน่นอนในอนาคตอันใกล้ ช่วงแรกๆเจ้า AI นี่คงเข้ามาแบบ ‘นักบินผู้ช่วย’ ก่อน ระหว่างนั้นมนุษย์เราก็คงเฝ้าดูว่าผลด้านการตัดสินใจ การควบคุมสั่งการรถจะออกมาเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงพัฒนาตรงไหนบ้าง และการพัฒนาตัวรถเองที่ต้องเข้าสู่ยุคที่มันติดต่อสื่อสารกันรู้เรื่อง (V2V : Vehicle to Vehicle)ทำได้สมบูรณ์แบบเพียงใด ทั้งสองส่วนนี้ต้องมาเคียงคู่กัน 
  ถึงตรงนี้ก็อยากดูว่า ‘ใบขับขี่’ ในยุคนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ต้องมีทั้งคน ผู้ผลิต รถ ด้วยหรือไม่ จะยังมีการจับปรับ เพิกถอน หรือไม่ อย่างไร  ตำรวจจราจรจะมีหน้าที่อย่างไร จะมีโรโบคอปอย่างในหนังหรือไม่…..
  จริงๆแล้ว ‘กู๋ของเรา’(Google) ได้เข้ามาเล่นกับรถอัติโนมัติกับเขาร่วมสิบปีแล้ว คือพอเห็นว่าระบบแผนที่ รายละเอียดเส้นทาง สถานที่ สภาพถนน การจราจร ตลอดจนระบบ 3 มิติที่สามารถหมุนไปหมุนมาแบบเรียลไทม์(บางสถานที่) ของตนแน่นหนาแข็งแรงดีแล้ว ‘กู๋’ ก็เอาจริงเอาจังกับรถไร้คนขับจนสำเร็จ ทั้งวิ่งจริง วิ่งในซิมูเลเตอร์จนพึงพอใจแล้ว กูเกิ้ลก็พัฒนา Waymo ชึ้นมาเป็นทั้งซอฟท์แวร์และรถยนต์ไร้คนขับที่ได้จากัวร์ I-PACE ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าออกมา เป็นที่ฮือฮากันตั้งแต่ต้นปี 2018 คือลงมาเล่นทั้งทีก็ต้อง ‘สมเกียรติ’ ทั้ง Google และ Jaguar เห็นว่าชักได้ใจจนจะลงไปทำรถบรรทุกไร้คนขับด้วย  จากการติดตามเรื่องนี้ทำให้ทราบว่าปัจจุบันการใช้เรด้าร์ในการสแกนสำรวจสภาพเส้นทาง วางแผนที่ กำหนดจุดสำคัญๆ ท่าจะไม่พอเพียงสำหรับรถไร้คนขับ  เขาจึงได้สร้างลิด้าร์ (Lidar) ที่ใช้ระบบเลเซอร์มาใช้ในการสแกน 3 มิติ มันทำงานได้ละเอียดกว่า ทำให้รู้ถึงอุปสรรคของแต่ละเส้นทาง แต่ละภูมิประเทศ ช่วยให้ระบบเนวิเกชั่นนำทางดั้งเดิมสมบูรณ์แบบขึ้นสำหรับรถขับเองในอนาคต เจ้าลิด้าร์นี้ฉลาดในการวิเคราะห์สภาพรอบรถ รู้ว่าอะไรกำลังเคลื่อนที่ ความเร็วเท่าไร อะไรหยุดนิ่ง อะไรคือสิ่งแปลกประหลาดที่อาจก่ออันตราย มันร่วมกับเรด้าร์สแกนทะลุความมืด หมอกควัน ฝน หิมะ พายุ ช่วยนำทางให้ยานพาหนะ(รถ เรือ เครื่องบิน)สู่จุดหมายแบบไร้คนได้
   ขณะที่กูเกิ้ลรุกจากความถนัดเดิมเรื่องแผนที่ ระบบปักหมุด นำทาง เข้าสู่สายการผลิตรถไฟฟ้าอัตโนมัติ ค่ายที่เก่งกาจเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla ก็ลงมาเล่นเล่นกันแต่ย้อนทิศมาเสริมเรื่อง AI และคล้าวด์เรื่องแผนที่ เส้นทาง รวมทั้งพัฒนาระบบไร้คนขับขึ้นมาบ้าง เช่นเดียวกับ Volvo, Toyota ก็กำลังพัฒนาระบบนี้เช่นกันโดยใช้ชื่อ AI Motive ร่วมมือกัน 3 ชาติ อเมริกา ฮังการี ฟินแลนด์ 

2. ระบบข้อมูลการใช้งาน สภาพรถ ผู้ใช้รถ
   ปัจจุบันเราได้นำการเชื่อมต่อข้อมูลใหญ่จาก AI Cloud เรื่องข้อมูลพื้นฐานการใช้งาน สภาพรถ ความปลอดภัย มาใช้ทั้งเชิงคาดการการบำรุงดูแล (Predictive maintenance) ทั้งสามารถป้องกันก่อนเกิดโดยมีบรรดาเซ็นเซอร์มาจับอาการต่างๆ แล้วแจ้งเตือนผู้ใช้รถรวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นฝ่ายบริการ  โฟล์ควาเก้นคือหนึ่งในนั้น เห็นว่ากำลังพัฒนาซอฟท์แวร์ร่วมกับไมโครซอฟท์ที่ใช้ชื่อว่า Azure cloud ที่ใช้กับรถยนต์โดยเฉพาะเพื่อเข้าสู่บริการแบบดิจิตอล ซึ่งก็ใช้หลักการของ IoT นั่นแหละ คราวนี้ผู้ใช้รถก็จะทราบการแจ้งหรือเตือนว่าควรหรือต้องจัดการอะไรกับรถของตน ก่อนที่สิ่งผิดปกติที่ระบบ AI มันตรวจพบนั้นมันจะบานจนเกิดความเสียหาย อุบัติเหตุได้ โฟล์คจะติดระบบนี้เข้ากับรถที่ผลิตตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ค่ายเกาหลีที่เริ่มพัฒนาระบบนี้คือ  Ghia และ Hyundai ที่ร่วมกันทำ ส่วนค่ายจีนได้แก่ Automotive Artificial Intelligence
   สิ่งที่น่าจับตามองคือในเมื่อข้อมูลด้านพฤติกรรมของเราเช่นเส้นทางที่ใช้บ่อย สถานที่ ร้านอาหาร โรงแรม ห้าง แหล่งเที่ยว มันสามารถตรวจจับ วิเคราะห์โดยนักการตลาดได้ พวกเขาจะใช้วิธีการ ‘ยิง’ โฆษณาตรง โฆษณาแฝง ข่าวสารโปรโมชั่น แนะนำเชื้อเชิญ เข้ามายังเราได้ได้เหมือนที่เรากำลังเจอทั้งตอนออฟไลน์และออนไลน์หรือไม่ เราจะเลือกรับไม่รับ บล็อค ขจัด ได้เพียงใด
   น่าติดตามว่าเมื่อพวกเขาลองเอาสภาพการจราจร วินัย พฤติกรรม ยานพาหนะหลากชนิด ของบางประเทศแถวๆนี้เข้าไปในซิมูเลเตอร์รวมทั้งการทดลองวิ่งจริงบนท้องถนน ผลมันจะออกมาเป็นแบบใด ต้องการการปรับ AI เป็นปรากฎการณ์ประหลาดหรือไม่ ทั้งเรด้าร์ลิด้าร์ร่วมกับระบบประมวลผลจะงงงวยประการใด น่าติดตามจริงจิ๊ง…
 

Tags: one mo 
 

* Permissions

  • You can't post new topics.
  • You can't post replies.
  • You can't post attachments.
  • You can't modify your posts.




Facebook Comments