Author Topic: ประสบการณ์ของผม กับเครื่องเสียง  (Read 5461 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline tiger00

  • Verified Member
  • Member
  • *****
  • Join Date: Jun 2007
  • Posts: 196
  • Gender: Male
  • Last Login:July 12, 2021, 10:03:31 am
คลายเครียดกับบทความเบาๆ 
Manassiri Peusakondha

     เคยมีคนถามเหมือนกันว่าใช้ Test CD อะไร ตอนไปเพ่นพ่านแถวร้านติดตั้งที่คุ้นเคย หรือเอาไว้เทสท์ซีสเต็มที่บ้าน ในรถตัวเอง ผมก็ได้ตอบไปว่าส่วนใหญ่จะเป็นเพลงทั่วไป ที่ตัวเองคุ้นหู ชอบ รู้ความหมาย และมีความหลังกับมัน ซึ่งก็มักจะโดนถามต่อไปว่าแล้วไอ้เพลงที่พี่ว่า ซึ่งผมเห็นกองอยู่แถวหลังรถนี่คุณภาพมันจะใช้ได้หรือครับ ไม่เห็นจะมีอะไรน่าสนใจในแง่ชื่อเสียงในหมู่ออดิโอไฟล์ คุณภาพการอัดก็งั้นๆ จะได้มาตรฐานหรือครับ ฯลฯ เหล่านี้คือสิ่งที่รบกวนประสาทผมมาก เกิดขึ้นมาประมาณสามสิบกว่า ปีที่แล้ว ตั้งแต่เข้ามาอยู่ในวงการนักเขียนเครื่องเสียงรถยนต์(แบบฟลุ้กๆ ถึงได้อยู่นาน)นี้

จริงๆแล้วผมก็ไม่ใช่ว่าจะไม่รู้เรื่อง ไม่เคยสัมผัส ไม่เคยเป็นเจ้าของ “Medium” ฟอร์แม็ทต่างๆ ที่อ้ายหมอนั่นและอีกหลายๆหมอที่ถามด้วยความฉงน แกมสีหน้าเยาะๆ หลายฟอร์แม็ทในนั้นบางคนในบรรดาหมอนั่นยังไม่เกิดด้วยซ้ำ !!! เช่นตอนเรียนป6. มีวันหนึ่งคุยกับเพื่อนรุ่นน้องที่เป็นลูกเจ้าของตลาดใหญ่แห่งหนึ่งย่านดอนเมือง ซึ่งที่บ้านใช้เครื่องเสียง Fisher ของอเมริกาแล้วอยากไปฟัง ตอนวันเสาร์ผมก็หนีบแผ่น Mary Hopkin ชุด Post Card ที่หน้าปกเธอแต่งสูทดำ ปล่อยผมทอง เป็นใบหน้าที่สวยหวานมาก แผ่นของ Kyo Sakamoto ที่ร้อง Sukiyaki รวมทั้งแผ่นทดสอบเครื่องเสียงของ OKI ซึ่งพ่อผมเอามาจากไหนไม่รู้ ไปเล่นที่บ้านเพื่อนคนนี้ นี่น่าจะเป็น Test LP ชุดแรกในชีวิตผมกระมัง พอมายุคแคสเส็ทท์เทป ตอนหลังนี่เขามีเทปทดสอบต่างๆออกมามาก ใหม่ๆผมก็มีกับเขาเหมือนกันเพราะใครๆเขาก็มี แต่พบว่าเปิดอยู่ไม่ก็ครั้งก็จะเก็บซุกๆไว้และหายไปในที่สุด เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง เหตุผลคือไม่ได้มีความชอบในเพลงเหล่านั้น ทั้งแนว ตัวคนเล่น ชนิดของเครื่องดนตรีที่เล่น ภาษา เชื้อชาติ แถบ/ย่านที่อยู่อาศัย ฯลฯ ที่รวมกันออกมาเป็น “องค์รวม” ของมัน แต่ที่สำคัญที่สุดเพลงที่คนในวงการเขานิยมนำมาทดสอบนั้นไม่ได้มีความหลังอะไรกับผม

คำว่าเพลงสำหรับผมนั้นมันมีภาพครับ เป็นภาพของตัวผมเอง บ้าน สัตว์เลี้ยง ถนน รถเมล์ เพื่อน ครู ของเล่น พ่อ แม่ ญาติ อากาศ อุณหภูมิ ชุดที่ใส่ บรรยากาศของกรุงเทพและต่างประเทศเป็นฉากหลัง และทุกเพลงที่ผมเลือกจะชอบนั้นจะทราบความหมายของมัน อาศัยดิคชันนารีพูดได้ที่เวลา “เขาทั้งสอง” อยู่เมืองไทยก็จะยินดีแปลให้ฟังไม่มีอิดออด ทำให้เด็กประหลาดอย่างผมมี “ภาพประกอบเพลง” ติดตามาจนทุกวันนี้ อย่างเพลง Knock knock who’s there? ของ Mary Hopkin ในอัลบั้ม Those were the days ผมยังจำเนื้อร้อง ความหมาย ภาพที่นึกตาม ภาพของคืนนั้นได้จนทุกวันนี้ ซึ่งก็ใช่จะดีเสมอไป เพราะหลายครั้งที่มันกลายเป็นกรงขังที่ดึงผมกลับไปภาพนั้น อารมณ์นั้นอยู่เสมอ หลายครั้งที่สลัดไม่หลุด ไม่เกิดการรับรู้ในอารมณ์อื่นก็มี

ผมพอจะรู้มาตรวัดคุณภาพเครื่องเสียงอยู่บ้างเหมือนกัน(เมื่อพูดอย่างถ่อมตัว) หลายครั้งมาตรวัดเหล่านั้นสะท้อนกลับมาที่ “ภาพ” ครับ เมื่อฝรั่งเขาตีกรอบการเล่น การฟัง การวัดมาให้เรา เขาก็จะให้คำจำกัดความออกมาเป็นคัมภีร์เพื่อให้มาตรฐานมันไม่เบี่ยงเบนออกจากที่เขาหมายถึงมาก เอาแค่ภาพอย่างเดียวนี่ผมจะลองไล่ให้ดู(ขอเป็นภาษาฝรั่งบ้างนะครับ) : Stereo, Quadraphonic, Delay, Reverberation, Image, Sound Stage ทั้ง Rear Stage, Front Stage, Front Stage/Rear-fill, Mid Stage ไล่ไปถึง Ambience, Surround, Time Alignment จนถึงพวก Sound Processor ทั้งหลาย นี่ว่ากันสดๆนะครับ ถ้าจะเอากันจริงๆยังมีอีกเยอะ ทั้งหมดนี่คุณพิจารณาดูดีๆคือการสร้างภาพจากเสียงทั้งนั้นนะครับ

ภาพเหล่านี้เขาพร่ำสอนกันมาแล้วเราก็ปฎิบัติตาม ถูกต้องแล้วครับ เป็นมาตรฐานระดับโลกซึ่งไม่มีประโยชน์ หรือทำให้เราเท่ห์ตรงไหนถ้าไปทำเก่งแหกคอกเขา มิติใดที่ขาดไปท่านทราบไหมครับ มิติของภาพในใจท่านไงครับ ผมไม่เคยเห็นว่ามีบทความไหน ตำราใดแตะตรงนี้ เราคิดขึ้นเองได้ครับ ผมว่านักเล่นเครื่องเสียงที่บ้าจริงๆหลายคนเข้าใจ รู้ถึงความหมายที่ผมกล่าวมานี้ แต่เก็บไว้ในใจ นักทดสอบ นักวิจารณ์หลายคนระดับอาจารย์ เซียน อยากเป็นเซียนบ้านเราก็คงคิดได้ น่าเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าผม และน่าจะเขียนออกมาให้พวกเราได้อ่านกันบ้าง การเข้าไปเล่น ไปสัมผัสตรงนี้มีความเป็นนามธรรมเต็มรูปแบบ การจะเข้าภวังค์ได้ จำต้องสามารถแปลงนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัย 4 ตัวคือ
1.   การสั่งสมที่ไม่ได้เกิดขึ้นแบบประเดี๋ยวประด๋าว-มีความเป็น Collective ที่ต้องการเวลาบ่มเพาะนานเหมือนกัน ไม่มีข้ามขั้น
2.   จินตนาการเต็มใบ บรรเจิด อย่าสร้างข้อจำกัด หรือกลัวบ้า
3.   การเข้าใจในความหมาย ความเป็นมา เป็นไป
4.   เครื่องช่วย
5.   การเป็นตัวของตัวเอง

จบตอนแรกเท่านี้ก่อนครับ

Offline noctuidae

  • Member
  • *****
  • Join Date: Jan 2010
  • Posts: 74
  • Gender: Male
  • Last Login:July 10, 2023, 01:34:10 pm

Offline tiger00

  • Verified Member
  • Member
  • *****
  • Join Date: Jun 2007
  • Posts: 196
  • Gender: Male
  • Last Login:July 12, 2021, 10:03:31 am

Offline tiger00

  • Verified Member
  • Member
  • *****
  • Join Date: Jun 2007
  • Posts: 196
  • Gender: Male
  • Last Login:July 12, 2021, 10:03:31 am
 

ขยายความให้เห็นบริบท

การสั่งสมที่เป็น Collective นี้ถ้ายังไม่เกิด ไม่เคยเกิด ต้องสร้างตอนนี้เลยครับเดี๋ยวจะตายเสียก่อน เอาอะไรที่ประทับใจ หรือฝังใจ(ซึ่งอาจไม่ประทับใจก็ได้) ที่กระทบตัว/ใจคุณเป็นตัวตั้ง อย่างที่ผมใช้ได้ผลมาแล้วกับภาพโรงเรียน เพื่อน หน้าหนาว หน้าฝน รถของบ้านเรา หมา กรงนก กรงไก่ ศาลาริมบ่อน้ำหน้าบ้าน ไทยไดมารู รถเมล์สาย 27 เขียวคาดแดง ฯลฯ การสั่งสมที่ว่านี้จะถูกงัดขึ้นมาทำให้คุณมีความสุขและชื่นชมกับชุดเครื่องเสียงได้มากๆๆๆครับ ที่ผมเกริ่นไว้ว่าบางครั้งการฝังใจซึ่งอาจไม่ประทับใจนั้น หลายครั้งทีเดียวที่

 

จินตนาการเต็มใบ กล่าวถึง Imagination คือภาพคิด ที่เราต้องรู้จักสร้างขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องตอนฟังเพลงนะครับ เพราะปกติเราจะคุ้นเคยในสภาวะกระตุ้นอื่นอยู่แล้ว เช่น ตอนครูเล่านิทานให้ฟัง ตอนอ่านนิยาย ตอนฟังข่าววิทยุ หรือแม้แต่ตอนขับรถ !!

 

การเข้าใจในความหมาย ความเป็นมา เป็นไป ผมย้ำตรงนี้ เพราะเพลงส่วนใหญ่ที่ “เขา” ยอมรับให้เป็นมาตรฐานการทดสอบ การฟังนั้น เป็นต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ด้วยพื้นฐานไม่ยากที่พวกเราจะแปล ถอดความออกมา ถ้าหาเนื้อไม่ได้ ให้ใช้ Search engine ว่า Lyric ถ้ายังเจาะความหมายไม่ได้ลึกให้ Search โดยใช้ Song fact ใน Yahoo หรือ Google ซึ่งถ้าจะให้ได้ครบองค์ความอภิรมย์ต้องเจาะถึงความเป็นมาของวง หรือนักร้อง นักดนตรีผู้นี้ ประวัติ ภูมิลำเนาตั้งแต่เกิดจนโต แก่ (ตาย) ความเป็นมาก่อนเกิดในวงการ แต่งเองหรือใครเป็นผู้แต่ง แรงบันดาลใจคืออะไร ส่วนความเป็นไปก็เช่น อัลบั้มใหม่ไปถึงไหนแล้ว จะมีการรวมวงกันได้หรือไม่ แนวเพลงจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร ตอนหลับตาฟังภาพต่างๆเหล่านี้ถ้าผุดขึ้นมาได้ถือว่าโชคดีมากครับ

 

เครื่องช่วย พวกการตกแต่งห้อง แสง พรม สี ม่าน เฟอร์นีเจอร์ การปรับอุณหภูมิ กลิ่น เครื่องแต่งตัว ช่วงเวลา วัน ของกิน เครื่องดื่ม เครื่องดูด พวกนี้จะช่วยนำพาเราให้ไหลไปกับผลของข้อ 1, 2, 3 และ 5 ได้เป็นอย่างดี

 

การเป็นตัวของตัวเอง จุดยืนในความเป็นตัวท่านเอง ความชอบในกมล สไตล์ที่ส่วนใหญ่ท่านไม่ฝืนเพื่อให้ชอบ ท่านฟัง ท่านตัดสินท่านเสียเงิน หรือคนอื่นทำครับ ขอถาม??

 

ทีนี้ถ้าถามว่าที่เขียนๆมานี้ไม่เห็นจะเข้าไปเกี่ยวกับย่อหน้าแรกๆเท่าไหร่ กำลังจะพูดต่อไปนี่แหละครับ ว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปเสาะหา สะสมอ้ายแผ่นทดสอบที่ต่างต้องมี บ้างเก็บเอาไว้คุย บ้างไม่รู้ความหมาย อย่างไรก็ดีผมอยากให้คุณรู้คุณสมบัติของแผ่นทดสอบเหล่านี้ว่ามีดีที่ตรงไหน ใช้ทดสอบอะไร ต่างกับแผ่นธรรมดาอย่างไร ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับในข้อดี คุณสมบัติเด่นของมัน ไม่งั้นของเขาคงขายไม่ได้ทั่วโลก เป็นมาตรฐานที่ต้องยอมรับ(แต่คุณจะชอบ เข้าถึง ประทับใจในแนวเพลงที่เขาทำออกมานั้นหรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง) ข้อดีของมันคือ

· ความคม กระจ่างชัด

· ความแรงในพลัง เฉียบ แน่น

· ความเพี้ยน เสียงรบกวนต่ำ

· การวางตำแหน่งชิ้นดนตรี และไมโครโฟน

· การแยกสเตอริโอ

· ช่วงเรนจ์ของความถี่ที่ครอบคลุมกว้าง

· คุณภาพของเนื้อแผ่น

· การเป็นของหายาก เกิดมูลค่าสะสม

· การเป็นที่ยอมรับ

 

ลองมาดูแผ่นที่ผมมีไว้ประดับภาพลักษณ์กับเขาบ้าง(ชอบหรือไม่ เคยเปิดฟังถึงสิบครั้งหรือไม่ในรอบสาทสิบกว่าปีเป็นอีกเรื่อง)

อันได้แก่

· ชุด Autosound 2000 CD Set มีมา 5 แผ่น ๆแรกมีเกือบร้อยแทร็ค เอาไว้จับพิรุธ ปรับแต่งซับเบสส์/เบสส์โดยเฉพาะ แผ่นสองเอาไว้ดูคุณภาพการแยกข้าง การนำเสนอสเตอริโออิมเม็จ มีมาให้ถึง 32 แทร็ค แผ่นสามเป็นการนำเสียงจากเครื่องดนตรีต่างๆมานำเสนอ เพื่อให้ดูว่าคุณภาพซีสเต็มของคุณนั้นมันทำออกมาแล้วใกล้เคียงเดิม ของจริงขนาดไหน แผ่นนี้บางครั้งจึงเหมือนลิงได้แก้ว คือถ้าอ้ายคนๆนั้นไม่คุ้นเคย ฟังจนคุ้น แยกออกว่าเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆเวลาเล่น เวลาฟังมันออกมาอย่างไร ก็จะไม่สามารถใช้เป็นมาตรวัดได้เลย เพราะไม่รู้ว่าอะไรจริงไม่จิง แผ่นสี่เอาไว้ปรับเลเว็ลแม็ทชิ่งฟร้อนท์หรือปรีกับเพาเว่อร์แอมป์ เป็นการนำเสนอลักษณะสุ้มเสียงแบบต่างๆ ว่าแบบนี้ตามมาตรฐานเขาจัดว่าเป็นแบบใด บุคลิกเสียงเป็นแบบไหน ตามความคิดของผมนั้นแผ่นนี้คุ้มค่านะสำหรับมือใหม่หัดฟัง

· Amanda McBroom ชุด Growing up in Hollywood Town กับ West of Oz ผมมีทั้งแผ่นไวนีลและ CD แผ่นแรกชอบการเล่าเรื่องในแต่ละเพลง ความหมายที่มีทั้งซึ้ง ตลก โลดโผน ชีวิต เศร้า แผ่นที่สองชอบเพราะทำให้นึกภาพหนัง West of Oz ที่เคยฉายที่โรงหนังควีนส์ตอนเด็ก นึกถึงโดโรธี นางเอกเด็กบ้านนอกอเมริกัน เป็นแผ่นที่เปรียบเสมือน “ภาคบังคับ” ที่ต้องมี ผมเองก็ได้ไหลเข้าไปในกระแสนั้นเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน แต่เพลงทั้งหมดในอัลบั้มก็เพราะดี ฟังแล้วเพลิน ลอย ตอนมาเป็น CD เลยต้องซื้อเก็บ

· Tower of Power Direct Plus ของ Tower of Power โดนชักดาบหายไปไหนแล้วไม่รู้ ซึ่งก็ดีเพราะคงจะมีประโยชน์และโดนเล่นมากกว่าอยู่กับผม

· Thema Houston & Pressure Cooker ชุด I’ve got the Music in me ฟังรอดอยู่เพลงเดียวคือเพลงที่ชื่อเดียวกับอั้ลบั้ม เห็นว่าเสียงร้องแจ๋นดี เป็นแผ่นที่ผมนำมาแจกทิ้งตอนจัดรายการวิทยุเพื่อให้ไปตกอยู่กับมือที่เขาเห็นคุณค่ามากกว่าผม หกเจ็ดปีมาแล้วไม่เคยเสียดายเลย และถ้าอยู่ๆมีอีกก็จะแจกอีก หนักบ้าน เป็นของดีแต่ไม่ชอบ

 

ทั้งหลายทั้งปวงที่เขียนมาข้างบนนี้น่าจะทำให้ท่านเห็นภาพของลิงได้แก้ว หมาได้กล้วยชัดเจนขึ้น ทุกแผ่นนั้นดีเลิศในคุณภาพการเล่น การบันทึก ความไพเราะ การเป็นที่ยอมรับ มันสามารถทำให้นาย ก ที่เดินเข้าไปในร้านเครื่องเสียง “ดูดี” ขึ้น จริงๆแล้วผมยังมีเรื่องเล่าอีกมาก โดยเฉพาะตอนที่คนในวงการเขาเคย(หลวมตัวหรือคิดผิด) ก็ไม่ทราบที่ได้เชิญผมไปเป็นกรรมการตัดสินเครื่องเสียงรถกับเขา ซึ่งนานมากแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นก็ไม่เคยมีใครเชิญผมมาอีกเลย ทำไม อย่างไร เพราะใครนะเหรอครับ ต้องรออีกเดือน เจอผมที่นี่แล้วผมจะเล่าให้ฟังครับ


Tags:
 

* Permissions

  • You can't post new topics.
  • You can't post replies.
  • You can't post attachments.
  • You can't modify your posts.




Facebook Comments