Author Topic: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ  (Read 1649 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline tokenn

  • Trouble is impossible!!!
  • Administrator
  • Member
  • *****
  • Join Date: Jul 2005
  • Posts: 5,153
  • Country: th
  • Gender: Male
  • Last Login:August 11, 2023, 06:03:41 pm
   
     
คมชัดลึก ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

28 สิงหาคม 2550 00:39 น.

ผลวิจัยชี้เส้นก๋วยเตี๋ยวมหาภัย เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ โดยเฉพาะเส้นเล็ก เส้นหมี่ เสี่ยงตับไตพัง เผยบะหมี่เหลือง-วุ้นเส้นปลอดภัยกว่า แนะผู้ประกอบการอย่าโลภผลิตขายข้ามจังหวัดจนต้องใส่สารกันบูดจำนวนมาก

เส้นก๋วยเตี๋ยวที่เป็นที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายนั้น ล่าสุดมีผลวิจัยออกมาว่า มีการใช้สารกันบูดเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งส่งผลต่อตับและไตของผู้บริโภค เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ที่อาคารอิมแพ็ค คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เมืองทองธานี ในการประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2550 มีการนำเสนอผลการวิจัย “ค___ด__นเ_นก๋_เตี๋ยว ในเขตภาคอีสาน ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต 14

 ภญ.วรวิทย์ กิตติวงสุนทร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี กล่าวว่า ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภค และเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด ทำให้มีการแข่งขันทางการตลาดสูง จากก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่เป็นเส้นสดที่ค้างหลายวันไม่ได้ ผู้ประกอบการมีการเติมสารกันบูด หรือสารกันเสียเพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวทำให้ยืดระยะเวลาการจำหน่าย ซึ่งสารกันบูดที่นิยมใช้คือ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสูงเป็นเวลานานจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) ได้กำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

 ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี กล่าวว่า ตอนแรกมีการสำรวจเฉพาะใน จ.อุบลราชธานี พบว่าใช้กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกในปริมาณเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงสำรวจในพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติม โดยเก็บตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีแหล่งผลิตและจำหน่ายในเขต 14 ได้แก่ จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ ระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน 2549 จำนวน 92 ตัวอย่าง แบ่งเป็นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก เส้นใหญ่ 11  ตัวอย่าง เส้นหมี่ 3 ตัวอย่าง เส้นบะหมี่ 8 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้นใหญ่ 5 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้นเล็ก 4 ตัวอย่าง วุ้นเส้นและวุ้นเส้นสด 24 ตัวอย่าง บะหมี่โซบะ 2 ตัวอย่าง เส้นแก้ว 1 ตัวอย่าง หมี่ซั่ว 3 ตัวอย่าง หมี่เตี๊ยว 2 ตัวอย่าง บะหมี่หยก 4 ตัวอย่าง บะหมี่ฮกเกี้ยนดิบ 1 ตัวอย่าง ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้ง 4 ตัวอย่าง เส้นใหญ่แห้ง 2 ตัวอย่าง และก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ 3 ตัวอย่าง

 ภก.วรวิทย์ กล่าวต่อว่า ผลการตรวจวิเคราะห์พบปริมาณกรดเบนโซอิกตั้งแต่ 1,079-17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อเทียบกับปริมาณที่กำหนดกรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวตามมาตรฐานสากล พบตัวอย่างเกินเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 34 ตัวอย่าง ในตัวอย่างก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก 12 ตัวอย่าง เส้นใหญ่ 9 ตัวอย่าง เส้นหมี่ 3 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้นใหญ่ 5 ตัวอย่าง กวยจั๊บเส้นเล็ก 4 ตัวอย่าง และบะหมี่โซบะ 1 ตัวอย่าง โดยก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กพบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบว่าเป็นตัวอย่างจากแหล่งผลิตภาคอีสานจำนวน 26 ตัวอย่าง และแหล่งผลิตนอกภาคอีสานจำนวน 8 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างไม่พบกรดซอร์บิกแต่อย่างใด

 กพบปริมาณกรเบนโซอิกสูงสุด 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาเป็นก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ 7,825 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กวยจั๊บเส้นใหญ่ 7,358 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กวยจั๊บเส้นเล็ก 6,305 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม บะหมี่โซบะ 4,593 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 4,230 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ภก.วรวิทย์ กล่าว

 ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี กล่าวว่า จากผลวิจัยดังกล่าวทำให้ความเชื่อเดิมที่คิดว่าเส้นหมี่ซึ่งมีลักษณะแห้งจะมีวัตถุกันเสียน้อย แต่จะพบมากในเส้นใหญ่ที่มีความชื้นสูงนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กลับมีการใส่วัตถุกันเสียเยอะมากเป็นอันดับ 2 รองจากเส้นเล็ก ส่วนเส้นที่ไม่พบสารเลยคือ เส้นบะหมี่เหลืองเพราะผลิตจากแป้งสาลี ส่วนเส้นอื่นๆ จะผลิตจากแป้งข้าวเจ้าที่มีความชื้นสูง ทำให้ราขึ้นง่าย จึงมีการใส่วัตถุกันเสีย ขณะที่วุ้นเส้นไม่มีปัญหาเช่นกัน

 "การวิจัยนี้ไม่ได้ตั้งใจทำให้คนแตกตื่น หรือทำลายอุตสาหกรรม แต่เป็นการวิจัย เพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาและสร้างความปลอดภัยในอาหารตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เพราะเมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ดังนั้นปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคคือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการกินก๋วยเตี๋ยว 1 มื้อ จะมีเส้นประมาณ 50-100 กรัม เท่ากับว่าผู้บริโภคจะได้รับกรดเบนโซอิกประมาณ 226-451 มิลลิกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และเมื่อรวมกับปริมาณวัตถุกันเสียในอาหารอื่นๆ ที่กินในแต่ละวัน เท่ากับว่าผู้บริโภคจะได้รับสารนี้จำนวนมาก แม้การตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้จะทำเฉพาะในเขต 14 แต่คาดว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศจะมีปัญหาไม่น่าแตกต่างกัน" ภก.วรวิทย์ กล่าว

 ภก.วรวิทย์ กล่าวถึงข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาว่า ผู้ประกอบการจะต้องไม่โลภ เอาเปรียบผู้บริโภค ควรผลิตจำหน่ายในพื้นที่ ไม่ใช่ส่งขายชนิดข้ามจังหวัด ข้ามไปภาคอื่นๆ เช่น ผลิตที่มหาชัย จำหน่ายที่อุบลราชธานีซึ่งต้องใช้เวลาการขนส่งนาน ทำให้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตมีระยะเวลาการจำหน่ายที่สั้นลง ทำให้ต้องใช้สารกันบูด นอกจากนี้ ยังควรพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตด้วยการควบคุมอุณหภูมิในช่วงบรรจุเส้นก๋วยเตี๋ยว ใช้บรรจุภัณฑ์ควบคุมความชื้น ซึ่งจะทำให้เส้นสามารถเก็บได้เป็นสัปดาห์ โดยไม่เสียง่าย ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนการผลิตเพียงเล็กน้อยกิโลกรัมละไม่ถึง 1 บาท และสุดท้ายคือ ควรใช้วัตถุกันเสียชนิดอื่นๆ ทดแทน ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังศึกษาอยู่เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ
 
 
 
Trouble is something to Learn,
Learning how to Fix.
Fixing something is to Think,
Thinking how to be Mature -> a little rascal again!




Offline tokenn

  • Trouble is impossible!!!
  • Administrator
  • Member
  • *****
  • Join Date: Jul 2005
  • Posts: 5,153
  • Country: th
  • Gender: Male
  • Last Login:August 11, 2023, 06:03:41 pm
อ่านดูแล้ว เราจะรอดไหมเนี่ย กินกันทุกวัน

เพื่อนๆชอบกินเส้นอะไรกันน่ะ

ผมกินบะหมี่หมูแดง ของโปรด ถ้าไม่มีก็เส้นใหญ่ราดหน้า สุดท้ายก็เส้นเล็กแห้งหมูตุ๋น นานๆทีก็สุกี้แห้งวุ้นเส้นรวมมิตร (เมาเวอริค)

ต่อไปคงหนีไปกินอะไรก็เสี่ยงตายทั้งนั้น คงต้องร้องเพลงกิน "ฉันชอบกล้วยไข่ เพราะมันไม่มีกระดูก"
Trouble is something to Learn,
Learning how to Fix.
Fixing something is to Think,
Thinking how to be Mature -> a little rascal again!




Tags:
 

* Permissions

  • You can't post new topics.
  • You can't post replies.
  • You can't post attachments.
  • You can't modify your posts.




Facebook Comments